Embeded System

เก็บตกจากงานสัมมนา TPEA2010 – การตลาดสำหรับผู้ประกอบการไฮเทค

By September 30, 2010 January 30th, 2011 No Comments

สวัสดีครับ ก่อนอื่นขอรายงานตัวรอบดึก งานนี้เป็นงานที่สองแล้วที่ผม ได้แอบไปเข้าร่วมกับทาง สมาคมสมองกลฝั่งตัว หลังจากที่เรียนจบ ผมก็ทำอะไรเล่นเฮฮา เลยไม่รู้ว่าวงการไปถึงกันแล้ววว ถือเป็นโอกาสดี ที่ได้กลับเข้าไปเยี่ยมบ้านเก่าบ้าง

งานนี้ได้รับอนุญาติิจากพี่แดง แห่ง TESA และ ป๋า admin จาก electoday ให้ไปนั่งฟังแทน บอกให้ผมไปฟัง ขาโหด แห่ง sme ตีแตก แล้วกลับมารายงานให้ฟังด้วย ฮ่าๆ (อ้าวโยนงาน)

สำหรับครั้งนี้ TESA ได้จัดงานสัมมนาเพื่อเสริมทักษะทางธุรกิจให้กับนักผู้ประกอบการ ธุรกิจสมองกลฝั่งตัว คือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับ อุตสาหกรรม Hardware Electronic ครับ สำหรับงานนี้คือทางสมาคมอยากให้นักพัฒนา ก้าวข้ามไปเป็นผู้ประกอบการ ให้มีศักยภาพการพัฒนา embeded และการตลาด จึงได้จัดงาน TPEA2010 ซึ่งเป็นงานประกวดผลิตภัณฑ์  ทาง embedded system ในรอบนี้จะมีคนส่งเข้าประกวด 100 ผลงาน  เป็นของเพื่อนสมาชิก ในเว็ำบ electoday หลายคนอยู่ครับ ซึ่งกำลังเตรียมตัว  present  กันหน้าเครียดเลย ส่วนทางผมขอ ไม่สะดวก เลยขอเชียรดีกว่า อิอิ

สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้ มีหัวข้อที่น่าสนใจอยู่สองหัวข้อ คือเรื่อง “อินเตอร์เน็ต – e-marketing”  และเรื่องน่าสนใจอยู่ที่ “การตลาดสำหรับผู้ประกอบการไฮเทค” ครับ

[singlepic id=130 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

เรื่อง อินเตอร์เน็ทและเว็บไซต์

ผมคงพูดรายละเอียดทั้งหมดไม่ได้มากนะครับ คงได้เบื้องต้นนะครับ ฮ่าๆ ให้พอเข้าใจความสำคัญ สำหรับคนไม่คุ้นกับเรื่องทางนี้เลยครับ

สำหรับอินเตอร์เน็ท พวกเราคงคุ้นเคยดีแน่นอน เพราะว่าเดี่ยวนี้เราจะหาอะไรก็ใช้ internet กันทั้งนั้น เวลาของผู้ใช้งาน ที่อยู่ internet มากขึ้นเรื่อยๆ เดี่ยวนี้แม้แต่มือถือ มันก็จะ connect กันแทบจะอยู่ 24 ชั่วโมงกันอยู่แล้ว แต่โชดดีที่เราไม่มี 3G และในโลกอินเตอร์เน็ต จำนวนคนที่เข้าถึงข้อมูลก็มากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ดังนั้นในยุคการค้าขาย 2.0 โลกอินเตอร์เน็ท ที่สิ่งที่ต้องทำแล้ว เพราะว่าไม่ว่าเราจะผลิตสินค้าอยู่ที่ไหนของโลก อินเตอร์เน็ทช่วยให้สินค้าเราไปปรากฏได้ทุกมุมโลก ไม่จำเป็นต้องมีร้านจริง เราก็ขายของได้

พูดมันก็เหมือนจะง่าย แค่เปิดเว็บ ก็ขายของได้ทุกคนแล้วสิ แต่จริงแล้วไม่ครับ มันไม่ง่ายแบบนั้น เพราะว่าคนจะเข้าเว็บเราได้ มันต้องรู้ที่อยู่ แล้วจะทำอย่างไงให้เขารู้ที่อยู่เราล่ะ ก็ต้อง search อ่ะสิครับ

สิ่งแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า กลไกการเข้าถึงข้อมูลของคนยุคนี้ก่อนครับ ทุกคนจะใช้ Google หรือ search engine ในการค้นหา (ในอนาคตจะเป็น facebook หรือป่าว ผมก็ไม่อาจจะคาดคิดได้ครับ) ซึ่งเรื่องนี้จึงกลายเป็น เราจะปรับแต่งเว็บอย่างไง ให้ google bot มาเข้ามาอ่านได้ง่าย จะได้ search เจอ ฮ่าๆ  หรือ เรียกว่า SEO คือจัดโครงสร้างเว็บให้ bot มันเข้าถึงได้ และเข้าใจได้ว่าเว็บเรามันเกี่ยวกับอะไรกันแน่ๆ

[singlepic id=131 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

แต่ถ้าอยู่ในตลาดที่มีผลิตภัณฑ์อยู่เป็นจำนวนมาก การแข่งขันสูง คนคิดได้เหมือนเราเยอะเลย ตอนนี้จะใช้ SEO ก็คงไม่ไหวแล้ว แต่เรายังมีตัวช่วย คือไปประมูลคำ search กันได้ครับ หรือเรียกกว่า adwords วิธีนิผมเชื่อว่า หาอ่านได้ มากมายเลยครับ เดี่ยวนี้หนังสือมันเยอะมากเลย ผมคงเกริ่นให้ฟังเท่านี้ล่ะครับ สำหรับงานนี้ หลังจากที่ผมฟังเสร็จ ก้อเลยไปเพิ่ม keyword “บอร์ดทดลอง” ลงไปในเว็บผมแล้ว เผื่ออิอิ

[singlepic id=133 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

รายละเอียดจริงมีอีกมาก รอดูวีดีโอจาก TESA กันแล้วกันครับ ผมว่าส่วนใหญ่เข้าใจกันอยู่แล้ว 😀

การตลาดสำหรับผู้ประกอบการไฮเทค

มาถึงหัวข้อที่เป็น HighLight ของงาน เรื่องกลยุทธทางการตลาด ผมว่าทางนักพัฒนา หรือ นักวิจัย มักจะมองข้ามและอาจจะมองไม่ออกนะครับ เรื่องการตลาดในหัวข้อนี้ น่าจะช่วยให้พวกเราได้ตระหนักและหาหนทาง ใช้การตลาดมากขึ้นครับ

สำหรับสัมมนาครั้งนี้ ทาง TESA ได้เชิญอาจารย์ อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย (อาจารย์ขาโหดจาก SME ตีแตก) มาเล่าถึงกลยุทธ และยกตัวอย่างเป็น case study ต่างๆ มากมาย ต้องขออภัยว่าทางผมเรียบเรียง อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่ฟังหรืออ่าน พอเป็นไอเดีย ว่าการเป็นนักการตลาดเขาจะคิดอย่างไง

การตลาดคือการขายของนี้ล่ะครับ แต่เราจะทำอย่างไงให้ลูกค้าเราสนใจ และ มีกลยุทธอย่างไงให้เขาอยากใช้สินค้าจากเรา บ่อยครั้งที่ ที่เราฟังผลิตภัณท์ที่พวกเราผลิตขึ้นมาเองได้  เป็นสิ่งที่รู้ล่ะมีประโยชน์ ช่วยได้เยอะ แต่ทำอย่างไงเจาะเข้าไปขายในกลุ่มลูกค้าได้ เราจะวางกลยุทธอย่างไง เรื่องการวางกลยุทธจึงเริ่มต้นจากตรงนี้ล่ะครับ

[singlepic id=139 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

สำหรับผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจไฮเทค ต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมผู้บริโภค และเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของสินค้าเราครับ เทียบกับสินค้าที่มีอยู่แล้ว เพื่อมาวางกลยุทธครับ ต่อสู้กับเจ้าของตลาดผลิตภัณฑ์เดิม

ดังนั้นการวางกลยุทธการตลาด  ผู้ประกอบการจะต้องมองเหมือนคนอื่น แต่คิดและทำไม่เหมือนคนอื่นได้ ผมขอขยายความ รู้และเข้าใจลูกค้า อยากได้อะไรจริงๆ  รู้เหมือนกับที่คู่แข่งเรารู้ แต่เราต้องตีโจทย์ให้ตี และสร้างนวตกรรมใหม่ ที่ตอบโจทย์ได้ดีกว่า

ผมยกตัวอย่าง netbook มาก่อน ได้ระยะเวลาหนึ่งนะครับ ทาง apple ก็พอเห็นว่าจริงแล้วคนใช้กลุ่มนี้ เป็นคนที่อยากใช้คอม เพื่อเข้าเว็บไซต์ apple แทนที่จะผลิต netbook เหมือนคนอื่นมาขาย ทาง apple กลับสร้าง ipad ซึ่งเป็น tablet pc ขึ้นมาใหม่ และเอาเทคโนโลยี multi touch มาตัวสร้างจุดขายด้วย  ซึ่งว่าใช้ง่ายกว่า ดู smart เท่กว่า (ทั้งที่จอ touch และ คอมพิวเตอร์แบบ tablet มันก็มีตั้งนานแล้ว) และการสื่อสารการตลาดของ apple ที่เข้าถึงไม่ว่า คนใช้งาน ebook กลุ่มคนเน็ท คนเล่นเกมส์ จึงกลายเป็นว่า บริษัท apple สร้างกระแส tablet pc ขึ้นมาเป็นตลาดใหม่ ให้เจ้าอื่นต้องมาทำตาม ถามว่า ipad สเป็กดีกว่าเจ้าอื่นไม่ ผมว่า ipad สเป็กก็เท่าๆกับ android tablet ทำงานบางงานก็ไม่ได้ flash ก็ไม่มี ไม่เหมือน netbook ใช้งานได้เทียบทุกอย่าง แต่ผมว่าคนใช้ทั่วๆไป ราคาใกล้ๆกัน แค่เข้าเน็ท คงเอา ipad มันดูเท่กว่าด้วย ฮ่าๆ

ใจความหลักคือ การเข้าใจความต้องการของลูกค้า และสร้างสินค้าที่แตกต่างครับ ซึ่งสิ่งนี้เลียนแบบได้ยาก copy model ที่เขาทำเวิร์ค แต่ก็ใช่ว่าเราทำแล้วจะเวิร์ค ดังนั้นการเป็นผู้ประกอบการ ต้องเข้าใจภาพลักษณ์ของตัวบริษัทเราเอง และศึกษาพฤติกรรมลูกค้า  และ จึงจะสร้างสินค้าและบริการที่ต่อสนองครับ (มันจึงต่างจากเป็นนักวิจัย เราจะมุ่งทำแต่สร้างๆ และก็สร้าง)

ในช่วงหลังของการสัมมนาจะมันส์ยิ่งกว่า อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย เชิญผู้เข้าประกวดขึ้นมาคุยกับบนเวทีครับ (จำลอง SME ตีแตก มาในงานเลย) ขอชื่นชมผู้ขึ้นบนเวที่ กล้าหาญมากครับ คนข้างล่างสั่นหมดแล้วอยู่ครับ (แอร์เย็น) ในชั่วโมงหลังจะเข้าใจง่ายกว่ายก case study ที่ธุรกิจของนักพัฒนาเราเลย ประกอบไปด้วย RFID กับ Fuel Cell

สำหรับบริษัทผลิตสินค้าทาง RFID ในไทย ในตอนนี้จะเน้นขายตลาดเมืองนอก แต่ยังไม่ได้เจาะขายในไทย อันนี้จากการวิเคราะห์พบ ผู้ใช้งานในไทยอาจจะยังไม่เข้าใจว่า RFID ดีกว่า ระบบเดิม(ระบบเดิม อาจจะเป็น barcode หรือ ระบบอื่นๆนะครับ) มันดีกว่าอย่างไงถึงเปลี่ยน อีกปัญหาที่ยกตัวอย่างมาเรื่องการสร้างแบรนด์ และ การเลือกช่องทางการสื่อสารทางการตลาด ที่ทำให้กลุ่มลูกค้าเข้าใจผลิตภัณฑ์

[singlepic id=140 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

สำหรับ case study ที่ 2 บริษัทผลิต Fuel Cell เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าผลงาน รศ.ดร.วีรเชษฐ์ ขันเงิน โดยทางอาจารย์วีรเชษฐ์ได้สร้าง Fuel Cell เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้กับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า มันเหมือนแบตตอรี่ แต่ให้พลังงานได้มากกว่านะครับ ถ้าอาจารย์วีรเชษฐ์ ดันจึงเป็นผลิตภัณฑ์ได้ ผมว่าจะเจ้าแรกๆ ของโลกเลยนะครับ fuel cell เชิงพาณิชย์

[singlepic id=142 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

สำหรับ fuel-cell มันน่าจะใหม่กับคนใช้ทั่วไปในไทยมากๆ และเป็นโปรดักส์เพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ว่า trend เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มันยังไม่เข้าไปถึงผู้ใช้ในไทยมากครับ เราอาจจะใช้ถุงผ้าลดโลกร้อน แต่เดียวเราก็ลืม น่าจะขายดีกับตลาดยุโร ป อาจารย์ วีรเชษฐ์ ได้มาแชร์ไอเดียจากการเป็นผู้วิจัย มาเป็นผู้ประกอบการ จะเจอปัญหาอะไรบ้างครับ ผมว่าเป็น case ที่ตรงกับนักวิจัยดีครับ ทำผลิตภัณฑ์ดี ตั้งแต่ทำเรื่องกู้เงิน ต้องรู้จักการทำวงแผนธุรกิจ การหากลุ่มลูกค้า การติดต่องานกับราชการ เรื่องปัญหาของ cash flow เป็นอย่างไง

ในช่วงสุดท้ายมีเรื่องให้น่าคิดครับ จากพี่อินทรีแดง(พี่แว่นแดง) มาแนะนำว่า การขายของกับหน่วยงาน ………… ในไทย นอกจากจะรู้ตัวสินค้าแล้ว ต้องรู้จักคน (khow who) กับการวิธีตั้งราคา เพราะว่าสินค้าไฮเทคเป็นที่ต้องการมาก ถูกมากไปไม่ดีครับ เพราะว่ามันเอาไปบริหารกันไม่ได้ พี่เขาพูดได้สุภาพมากครับ

พวกเรา งง??? กันไปเลย แต่ก็เข้าใจ ว่านี้มันเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศอีกอันหนึ่งครับ ที่มันจะทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เกิดยาก การเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็ไม่ได้ช่วยให้ขายได้ ฮ่าๆ (ซึ่งเป็น ห่วงโซ่อาหารแบบเก่า ที่ไม่รู้ชาตินี้จะแก้ไข ได้หรือป่าว) ผมก็เบื่อปัญหานี้จริง จึงไม่คิดจะทำของขายโรงงานเลย ฮ่าๆ …. พูดให้เป็นปริศนา ไปงั้นล่ัะ ฮ่าๆ

[singlepic id=144 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

เอาล่ะครับ ผมขอฝากว่าการตลาดเป็นเรื่องสนุกนะครับ กลยุทธการตลาด สำหรับคนที่อยากศึกษาทางด้านนี้ ลองอ่านหนังสือการตลาด ที่เป็น case study นะครับ เลือกในธุรกิจที่ชอบครับ เวลาเราอ่านจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ และต้อง ทดลองทำดูด้วยครับ สำหรับการสัมมนาการสั้นๆ อาจจะเข้าใจเรื่องการตลาดทั้งหมดนะครับ ค่อยเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปครับ ขอบคุณทาง อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ,ที่มาช่วยจุดไฟทางการตลาดให้กับผมด้วยนะครับ

[singlepic id=146 w=500 h=333 mode=watermark float=center]

สุดท้าย ขอบคุณกิจกรรมดีๆ ของทาง TESA มีอีกเรื่องที่อยากฝาก ธุรกิจนี้ไฮเทค เราทำคนเดียวไม่ได้ครับ โลกยุคใหม่ เทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วๆมาก เราทำคนเดียวไม่ได้ทั้งหมดแน่ๆ รอบหน้าถ้าทาง TESA จัดกิจกรรมนะครับ หันมองเพื่อนรอบแล้วทำความรู้จักกันเอาไว้ครับ

[nggallery id=6]

chang

ชื่อ “ช้าง” ส่วนมากเขาจะเรียกว่า “พี่ช้าง” แล้ว มีความสนใจทางเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และ หุ่นยนต์ เป็นทั้งนักคิด นักประดิษฐ์ ชอบทดลองเล่น จนเดี่ยวนี้รู้สึกว่าจะเล่นมากกว่ามืออาชีพไปสักแล้ว

Leave a Reply