ArduinoSmart Phone

แนะนำให้รู้จัก Android และ App ที่น่าสนใจโดยไอยาราฟันส์

By March 10, 2011 May 22nd, 2011 5 Comments

สวัสดีครับ และแล้ว เจ้าโมโตยางรัด มือถือที่ผมใช้มา 3 ปีนิดๆ ก็ได้ถึงเวลากลับบ้าน หลังจากเก็บใส่กล่อง ป๊าดน้ำตาเล็กน้อย ผมก้อหากิ๊กใหม่ทันที่ เลือกไปเลือกมาได้ จึงได้มือถือที่มีระบบ OS สองตัวคือ Android กับ iphone ครับ จริงก้ออยากได้ iphone ใจจะขาด แต่สุดท้ายผมกับน้อง iphone คงไปด้วยกันไม่ได้หรอกนะ เพราะไม่มีเงิน ฮ่าๆ ผมจึงเลือก มือถือ android ที่ผมว่าคิดว่าอะไรๆ มันก้อด๋อยๆ ง่อยๆ ไปหมดครับ แต่มันก้อยังดีกว่า Touch ตัวอื่นว่ะ เอาก้อเอา

เนื่องจากเวปผม ไม่ได้เกี่ยวกับมือถือ ผมขอหลีกเลี่ยงกล่าวถึงแบรนด์ ผมจะได้ติชม กัด กับ android ได้อย่างเต็มที่หน่อย ที่เริ่มต้น คือผมจะเริ่มเอา smart phone เอามาต่อกับ Hardware ภายนอก ที่สร้างขึ้นมาครับ ในตอนนี้ขอเริ่มกับ Android ก่อน (รูปมันติดยี่ห้อไปแล้ว ไม่ขอแก้ด้วย)

จากประสบการณ์ที่ลองเล่น แอนด๋อย ผมว่า android มันให้อารมณ์ความเป็น Geek อยู่เยอะนะ ถึงแม้มันจะแอบไว้ใต้ GUI กราฟฟิกแล้วก็ตาม แต่มันยังดูข้อมูล อย่าง Process รันอยู่อะไรบ้าง ยังมีโปรแกรมที่ช่วยปรับโน่น นี่ นั้น ได้อีกเยอะ ซึ่งผมว่ามันช่างเหมือนตอนเล่น Linux เลยครับ สำหรับการใช้งาน ผมให้นิยามว่ามัน “ด๋อย ง่อย แต่ยังพอทน” คนที่ใช้ android จะรับทราบดีทุกคนครับ ว่า android ยังห่างจาก iphone มากครับ แต่ยอมรับ มันยังดีกว่า Symbian หรือ windowsMobile พอควร ถึงแม้ว่าจะมากับ GUI ที่ออกแบบมาเป็น touch screen นะครับ แต่กราฟฟิก กับการใช้งานมันไม่ได้เร็วมาก แต่ก็ไม่ได้ช้าจนทนไม่ได้ อยู่ในระดับไม่ขัดใจ ฟังก์ชั่นทุกอย่างให้มาอย่างพอเพียงครับ และ พอกับงบที่มี  ข้อสังเกต Linux มี GUI มานาน แต่มันก้อไม่ได้เด่นไปกว่า MacOS หรือ windows 7 เลย มันแค่ “มี” จริงไหม

จากลองเล่นเห็นว่ามันทำอะไรได้เยอะกว่าที่คิด ผมจึงเปิดหัวข้อใหม่ในเวปไอยาราฟันส์ครับ คือมี android มาเพิ่มด้วย สำหรับในครั้งนี้ ผมได้รวบรวม app ของ android น่าสนใจสำหรับชาว electronic และ hacker แบบบ้านๆ มาให้ชมกันครับ ซึ่งส่วนมากมันแจกฟรี

  • ElectroDroid ให้มันเป็น App ชุดสามัญประจำบ้านของผมไปเลยครับ สำหรับ app ที่เกี่ยวกับ electronic ไว้ครับ ไม่ว่าจะอ่านค่า แถบสีค่า R , อ่านรหัสบน SMD พวกคำนวน อย่าง ohm’s laws หรือจะเอาไว้ดู pinout คอนเน็ทเตอร์ก็ยังมีได้ app นี้ผมเลยติดตัวไว้ไม่ให้ขาด
หน้าจอหลัก จะมีเมนูย่อยๆ
ที่นั่งเล่นบ่อยๆ อ่านแถบสีตัวต้านทานนิ จำไม่ค่อยได้
มันก้อมี pin diagram ของคอนเน็กเตอร์แบบต่างๆ ด้วย ที่เห็นก็มี DB9 DB25 ด้วยครับ ติดไว้จะไม่ได้ต้องเข้าไปให้ในเวปบ่อยๆ
  • gPad เป็น app แจกฟรีเช่นกัน โปรแกรมนี้มันจะทำให้ android กลายเป็น Remote ผ่าน wifi ได้ครับ เอาไว้ควบคุมโปรแกรม Powerpoint หรือโปรแกรมต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ได้ครับ การทำงานมันจะ map ปุ่มบนหน้าจอ android ให้เป็น ปุ่ม keyboard หรือ mouse บนคอมครับ และ ที่สำคัญเราสำหรับออกแบบหน้ากราฟฟิกของรีโมตเราเองได้ เอาไปทำ joy ควบคุมรถอะไรก้อว่าไป ใครอยากจะลองเอามืิือถือมาทำอะไรด่วนลองใส่ดูครับ
หน้าจอหลักของ gPad
หน้าจอของโปรแกรม Power point เป็นปุ่มแบบธรรมดา
อันนี้หน้าจอของโปรแกรม Picasa ใส่รูปได้ด้วย
  • TouchOSC อีก app ที่แจกฟรี แต่จำกัดความสามารถการใช้งาน ตัวนี้เหมือนรีโมตผ่าน wifi ครับ แต่ app นี้จะดีกว่า gPad ตรงที่นอกจากปุ่มปกติแล้ว ยังมี toggle switch ,slide และ mouse pad อีกด้วย
    สำหรับเวอร์ชั่น Android มันจะไม่เสียเงินครับ คงหาวิธีเก็บเงินไม่ได้ล่ะมั่ง แต่เขาจำกัดฟังก์ชั่นไว้ คือเรา custom หน้าจอไม่ได้ อยากใช้แบบเต็มใช้บน iphone/ipad ครับ แต่เสียเงินนะ

หน้าจอ matrix switch 4×4 กับ toggle swtich 4×1

slide บาร์ที่สุดค่าแบบ analog กลับมาได้

สำหรับโปรแกรม TouchOSC ผมได้ลองเล่นดูแล้ว ตัว protocol ที่มันใช้ในการสื่อสารจะเป็น Open sound command เป็น package ข้อมูลที่ผ่าน wifi นี้ล่ะครับ แต่เป็น protocol ที่ในพวกอุปกรณ์ที่เสียงเอามาแทน midi  พวก Sound Engineer เอาไว้ควบคุมเครื่องเสียง พวก Volume พวก channel เสียง ไม่เกี่ยวกับควบคุมหลอดไฟเราเลย แต่ผมก้อจะใช้แปลกตรงไหน
เอาตัวอย่างง่ายๆไปดูก่อนครับ ผมใช้ processing ต่อกับ คอมพิวเตอร์ไว้ ให้ processing รับ osc message  จาก android แล้วมาประมวลผลเป็นคำสั่งเปิดปิด หลอดไฟอีกที่ครับ

 

  • Audio Serial Out สำหรับโปรแกรมต่อไป ไอเดียแปลกแหวกแนว โปรแกรมนี้จะเปลี่ยนช่องหูฟัง เป็น Serial ได้ครับ แต่ใช้งานได้เฉพาะส่งนะครับ แต่แค่นั้น มันก้อเจ๋งแล้ว
การใช้งานจริงต้องมีวงจรเพิ่มเติมเปลี่ยนระดับสัญญาณ Audio เป็น TTL สักก่อนนะครับ ลองหาดูในเน็ท
เอาวีดีโอตัวอย่างไปชมก่อน
  • BlueTerm ไม่น่าเชื่อว่าใน android นั้น มันจะต่อกับ bluetooth serial ได้ครับ แถมอีกว่า ใน market มันมีโปรแกรม serial terminal ให้โหลดลองใช้งานได้อีกด้วย (โหใน iphone มันไม่มีนะครับ มันไม่อนุญาติให้ต่อ bluetooth ทำอะไรที่ Apple ไม่อนุญาติ ส่งไฟล์กันยังไม่ได้เลย) แอนด๋อยผมเลย มีความสามารถที่ iphone ก็ไม่สามารถเทียบได้ เป็น serial port แบบไร้สายเพิ่ม จะหาได้ที่ไหนกัน

ผมก็ได้ทดลอง app นี้แล้วเหมือนกัน พอดีว่า bluetooth serial มันหาซื้อไม่ยากมา เลยเอามาติดไปกับ arduino แล้วทำโปรแกรมง่ายๆ บน arduino ให้รับคำสั่งจาก serial แล้วไปหมุนมอเตอร์ RC-Servo เท่านั้นเองครับ ใครอยากได้ อุปกรณ์ debug ผ่าน serial ง่าย มอง android อีกสักเครื่อง จะทำให้ ท่านไปหน้างานดูหล่อขึ้นไปอีก

TEST 1 ให้ดูก่อนทำงานครับ มันจะเหมือน serial terminial บน pc นั้นล่ะครับ แต่อยู่บน android แล้วมันเท่

TEST 2 มีส่วนเปิด-ปิด bluetooth ให้ดูนิดหนึ่ง

 

จบแล้ว ดองไว้นานนน ก็คงเห็นนะครับ ว่าแอนด๋อยมันทำอะไรได้บ้าง ถึงแม้มันจะไม่ได้ดี เท่า iphone ของ สตีฟ จ๊อบ แต่ก้อเจ๋งพอควร อิอิ โอกาสหน้า เราจะได้เห็นโปรเจคทางไอยาราฟันส์ มากับ แอนด๋อยบ้างล่ะ อิอิ

chang

ชื่อ “ช้าง” ส่วนมากเขาจะเรียกว่า “พี่ช้าง” แล้ว มีความสนใจทางเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และ หุ่นยนต์ เป็นทั้งนักคิด นักประดิษฐ์ ชอบทดลองเล่น จนเดี่ยวนี้รู้สึกว่าจะเล่นมากกว่ามืออาชีพไปสักแล้ว

5 Comments

  • ตอนหน้า อยากให้เอา android ไปเล่นกับอะไร บอกได้เลยนะครับ

    • Atiratsuk says:

      อยากให้อธิบายเกี่ยวกับการติดต่อกับบอร์ดให้หน่อยครับ  ละเอียดนิดนึง

  • Wallstickerkorea says:

    สุ โค่ยๆๆๆๆ

  • ตอนนี้แอนดรอยด์เป็น 2.3 ส่วนใหญ่แล้วนะฮะ
    ลองมารีวิวใหม่ ตอนนี้มันอาจจะเจ๋งกว่าไอโฟนแล้วก็ได้ ใครไปรู้

    • ChANg says:

      ผมคงต้องเปลี่ยนมือถือก่อนนะ ถึงจะมีของ test
      แต่เดือน iphone5 กำลังออก อย่างไง android ก้อคงสู้ไม่ได้อยู่ดี ฮ่าๆ

Leave a Reply